การพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม
ชื่อผู้วิจัย : นายนิวัฒน์ เรือนอินทร์
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านสันคะยอม
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2563 – 2564

บทคัดย่อ

ในการวิจัยการพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการนำไปใช้ของรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม กลุ่มผู้เกี่ยวข้องในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาพื้นฐานและผู้ปกครอง ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ใน 2 รอบ คือ R1D1 และ R2D2 ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็กของโรงเรียนบ้านสันคะยอม (R1) ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรอบที่ 1 (D1) ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการนำไปใช้ของรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม แล้วปรับปรุงและพัฒนา (R2) ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนรอบที่ 2 แล้วศึกษาผลของการใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม (D2)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม โดยรวมพบว่ามีการปฏิบัติมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการพบว่าทุกรายการมีการปฏิบัติมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผนการดำเนินงานโดยใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การประชุมผู้ปกครองนักเรียน ชี้แจงแนวปฏิบัติโดยใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม
2. การศึกษาความเหมาะสมในการนำไปใช้ของรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ วางแผนจัดสรรงบประมาณ ในการจัดกิจกรรมต่างๆ

3. การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักเรียนในการใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม โดยรวมพบว่ามีการปฏิบัติมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีกำลังใจ รู้สึกสงบและมีความสุขและนักเรียนใฝ่เรียนรู้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนมีมนุษยสัมพันธ์ มีกิจกรรมทางสังคมร่วมกับเพื่อน เช่น เล่นกีฬา เล่นดนตรีและสนทนาพูดคุยกับเพื่อนๆ และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร

ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้
1. ในการดำเนินการพัฒนาระบบควรดำเนินการเป็นวงจรการปฏิบัติการเพื่อที่จะได้ ทราบจุดบกพร่องและจุดที่ควรจะพัฒนาในการดำเนินการรอบต่อไป
2. ในการนำรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอมไปใช้นั้น ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องเห็นความสำคัญและมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและมาตรฐานของโรงเรียนคุ้มครองเด็กก่อน โดยอาจมีการประชุมชี้แจงผู้ปกครองและนักเรียน ส่วนครูที่ปรึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติควรมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถดำเนินการรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การนำรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอมไปใช้นั้นต้องทำความเข้าใจและอาศัยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงจะประสบผลสำเร็จ ดังนั้นการคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินงานตามรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม จึงต้องคัดเลือกจากผู้ที่สนใจ สมัครใจ ยินดีให้ความร่วมมือได้เป็นอย่างดี
4. ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ดังนั้นผู้บริหารควรเห็นความสำคัญและเป็นผู้นำในการนำรูปแบบไปใช้ เพื่อที่จะขับเคลื่อนให้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอมได้อย่างมีประสิทธิผล
5. ในการใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม ควรดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research: AR) โดยจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องจะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้จากการใช้วงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
6. ในการนำรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอมไปใช้ ควรมีคู่มือการดำเนินการให้ผู้เกี่ยวข้องและกำหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อให้กระบวนการทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
1. รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอมที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ได้ทดลองใช้กับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงควรมีการศึกษาวิจัยกับโรงเรียนที่มีขนาดอื่นๆ และสังกัดอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบกับผลการวิจัยในครั้งนี้
2. ควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม ขยายไปสู่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ
3. ควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านสันคะยอม โดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามีส่วนในกระบวนการดำเนินงานให้มีความทันสมัยและสามารถดำเนินการได้ด้วยความรวดเร็วเป็นปัจจุบัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *